
กำเนิดต้นพญาเสือโคร่ง
ต้นพญาเสือโคร่ง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซากุระเมืองไทย เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูงประมาณ 10-15 เมตร พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200-2,400 เมตร เช่น ภูลมโล จังหวัดเลย, ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย, ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยน ขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่, ขุนสถาน ดอยวาว ดอยภูคา ดอยมณีพฤกษ์ จังหวัดน่าน, ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์, ภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
ลักษณะต้นพญาเสือโคร่ง

เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือไข่กลับ ใบมีความกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5 -12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือสอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายเขากวาง ดอก สีขาว ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อกระจุกใกล้ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผล รูปไข่หรือกลม ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง
สรรพคุณ ของนางพญาเสือโคร่ง

- รักษาอาการไอ คัดจมูก ลดน้ำมูก ด้วยการนำมาเปลือกมาเคียวสด หรือขยี้แล้วนำมาดม
- รักษาไข้หนาวสั่น โดยนำมาต้นกับน้ำสะอาดแล้วดื่ม
- แก้ท้องเสีย การการต้มคั้นน้ำ
- แก้อาการปวดเมื่อย ฟกช้ำ ข้อต่อต่าง ๆ ด้วยการน้ำเปลือกมาคั้นน้ำแล้วพอกบริเวณนั้น ๆ
การปลูกพญาเสือโคร่ง

- เลือกพื้นที่ปลูกที่ร่มรำไร อากาศถ่ายเทสะดวก
- เตรียมดินปลูกโดยการผสมดินร่วน ปุ๋ยคอก และทรายในอัตราส่วน 2:1:1
- ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
- นำต้นพญาเสือโคร่งลงปลูกในหลุมแล้วกลบดินให้แน่น
- รดน้ำให้ชุ่ม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : treespecie